Bluetooth Networking Overview
ภาพรวมการเชื่อมต่อผ่านเครือข่าย Bluetooth

ภาพรวมการเชื่อมต่อผ่านเครือข่าย Bluetooth

เครื่องพิมพ์ที่เปิดใช้งาน Bluetooth แต่ละเครื่องจะมีแอดเดรสอุปกรณ์ Bluetooth (Bluetooth Device Address หรือ BDADDR) ไม่ซ้ำกัน แอดเดรสนี้จะคล้ายๆ กับ MAC Address โดยที่สามไบต์แรกจะบ่งบอกถึงผู้จำหน่าย และสามไบต์หลังบ่งบอกถึงอุปกรณ์ (เช่น 00:22:58:3C:B8:CB) แอดเดรสนี้จะอยู่บนฉลากที่ด้านหลังของเครื่องพิมพ์ โดยจะแสดงในรูปแบบบาร์โค้ด เพื่อให้สามารถจับคู่ได้โดยง่าย อุปกรณ์ที่เปิดใช้งาน Bluetooth สองตัวจะต้องเชื่อมต่อกันก่อนจึงจะแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ ซอฟต์แวร์ Bluetooth จะทำงานอยู่เบื้องหลังเสมอ พร้อมตอบสนองต่อคำร้องขอการเชื่อมต่อ อุปกรณ์ตัวแรก (เรียกว่าไคลเอนต์) จะต้องร้องขอ/ริเริ่มการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อีกตัว จากนั้นอุปกรณ์ตัวที่สอง (เรียกว่าเซิร์ฟเวอร์) จะตอบรับหรือปฏิเสธการเชื่อมต่อ โดยปกติ เครื่องพิมพ์ที่เปิดใช้งาน Bluetooth จะทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์ต่อพ่วง ซึ่งจะสร้างเครือข่ายขนาดย่อมกับอุปกรณ์โฮสต์ ซึ่งบางครั้งจะเรียกว่า “พิโคเน็ต” ในการค้นหาอุปกรณ์ Bluetooth ที่สามารถจับคู่ได้นั้น อุปกรณ์ศูนย์กลางจะเผยแพร่คำร้องขอค้นหา แล้วอุปกรณ์ต่างๆ จะตอบสนองต่อคำร้องขอนั้น หากไม่พบอุปกรณ์ใดๆ เลย อุปกรณ์ศูนย์กลางจะไม่สามารถจับคู่ได้ เว้นแต่จะรู้ BDADDR หรือเคยจับคู่กับอุปกรณ์นั้นมาก่อน